Sans être une région particulièrement reconnue pour sa cuisine,la Charente produit quelques-uns des “plaisirs de bouche” les plus appréciés des Français:huîtres de Marennes-Oléron,moules,Cognac et Pineau des Charentes…
Les romains,dit-on,se régalaient déjà de ces huîtres charentaises qui couvrent aujourd’hui 50% de la production française,soit près de 60 000 tonnes par an,produites par les 2 300 ostréiculteurs du bassin de Marennes-Oléron.
L’élevage d’une huître demande jusqu’à trois années de travail : captage des larves sur des “collecteurs”,puis élevage en parc.De Brouage à Ronce-les-bains,en passant par la côte orientale d’Oléron,3 000 ha de mer sont ainsi occupés par les huîtres,sous l’œil attentif des ostréiculteurs qui font la chasse aux prédateurs(étoiles de mer,moules ou encore bigorneaux perceurs),tout aussi friands que nous du meilleur fruit de la mer.
Vient ensuite l’heure de l’affinage dans les claires. Ces bassins de faible profondeur,souvent d’anciens marais salants, offrent un paysage unique tout le long de la côte et sur les rives de l’estuairede la Seudre,comme un gigantesque damier miroitant,avec le long des chenaux,les cabanes colorées des éleveurs.Là,les huîtres engraissent et se bonifient grâce à la l’algue microscopique “navicule bleue” qui foisonne à l’embouchure de la Seudre et qui donne à l’huître cette coloration verte,caractéristique de la Marennes-Oléron.Il faut ensuite procéder au dégorgeage et au trempage,au tri et au calibrage,au conditionnement et à l’expédition,avant que l’huître n’arrive enfin dans l’assiette des gourmets.
Il existe bien sûr mille et une façons de préparer les huîtres,mais c’est nature ou agrémentée d’un simple filet de jus de citron que le véritable amateur en apprécie toute la saveur!
แม้ว่าชารองต์จะไม่ใช่ดินแดนที่มีชื่อทางอาหาร แต่ก็เป็นแหล่งผลิตรสเลิศบางอย่างที่เป็นที่ชื่นชอบอย่างมากสำหรับชาวฝรั่งเศส นั่นคือ หอยนางรม จากเมืองมาแรน โอเลรงหอยแมลงภู่ เหล้าคอนยัค และไวน์ปิโนของชารองต์
มีการกล่าวกันว่า ผู้คนชื่นชอบบริโภคหอยนางรมจากชารองต์มาตั้งแต่ยุคโรมันแล้ว และในปัจจุบัน หอยนางรมที่ชาวฝรั่งเศสนิยมบริโภคก็มาจากเขตนี้เกือบครึ่งหนึ่ง คือประมาณ 6000 ตันต่อปี โดยมีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงหอยในแหล่งน้ำที่มาแรนโอเลรงอยู่ประมาณ 2300 คน
ผู้เลี้ยงหอยนางรมทำงานกันตลอดเพราะการเลี้ยงหอยต้องใช้เวลานานถึง 3 ปี เริ่มจากการเก็บลูกหอยที่มาเกาะอยู่บนเสาที่ปักล่อแล้วนำไปเลี้ยงในฟาร์มหอย มีการใช้พื้นที่ในทะเล ประมาณ 30 ล้านตารางเมตรเพื่อทำฟาร์มหอย โดยเริ่มจากเมืองบรูอาชไปยังโรงซ์ เล แบงโดยผ่านชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะโอเลรง เกษตรกรต้องคอยตรวจตรากำจัดสัตว์ทะเลที่จะมากินหอยนางรม เช่น ปลาดาว หอยแมลงภู่ หอยบิกอร์โนเพราะสัตว์จำพวกนี้ก็ชื่นชอบอาหารทะเลเช่นเดียวกัน จากนั้นต้องเอาหอยไปใส่ไว้ในแอ่งน้ำตื่นเพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดไปและทำให้หอยมีสีออกเขียว แอ่งน้ำตื้นเหล่านี้เคยเป็นที่ทำนาเกลือมาก่อน และมีอยู่มากมายตลอดชายฝั่งและตรงปากน้ำ ทำให้ดูเหมือนลายตารางหมากรุกขนาดใหญ่ที่ระยิบระยับเวลาที่โดนแสงแดด พูดได้ว่าไม่มีที่ไหนเหมือนก็ว่าได้ ส่วนผู้เลี้ยงหอยจะมีที่พักเป็นกระท่อมหลังเล็กๆตั้งอยู่ริมทางน้ำสายเล็กๆที่สามารถเข้าไปยังเมืองท่าหรือลัดเลาะไปตามเกาะแก่งต่างๆได้
ในแอ่งน้ำเหล่านี้จะมีสาหร่ายทะเลขนาดเล็กที่มีชื่อว่า “นาวิกูล เบลอ”ซึ่งมีชุกชุมบริเวณปากแม่น้ำเซิดร์และเป็นตัวทำให้หอยมีขนาดใหญ่ขึ้นและคุณภาพดีขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังทำให้หอยมีสีเขียวซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของหอยนางรมที่จากมาแรน โอเลรง ขั้นตอนสุดม้ายเอาเมือกออกและจุ่มน้ำ คัดแยกและวัดขนาด เสร็จแล้วก็นำมาบรรจุและจัดส่ง หลังจากนั้น หอยนางรมก็จะถูกจัดใส่จานสำหรับผู้บริโภค ความจริงแล้วมีวิธีปรุงหอยนางรมหลายวิธี แต่ผู้ที่ชื่นชอบลิ้มรสชาติของหอยนางรมแท้ๆ มักนิยมรับประทานสดๆหรือรับประทานกับมะนาว
Aucun commentaire:
Enregistrer un commentaire